เมนู

อิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ
ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ
ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า.

[303] สัญญาที่ควรเจริญเพื่อความหลุดพ้นมี 5 อย่าง


1. อนิจจสัญญา ความสำคัญหมายในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา ความสำคัญหมายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
เป็นทุกข์
3. ทุกเข อนัตตสัญญา ความสำคัญหมายในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
ไม่ใช่ตัวตน
4. ปหานสัญญา ความสำคัญหมายในปหานะ
5. วิราคสัญญา ความสำคัญหมายในการคลายกำหนัด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดทีเดียว พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อนุเคราะห์แก่
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด 5

ว่าด้วยสังคีติหมวด 6



[ 304 ] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวด 6 พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัส
ไว้ชอบแล้วแล พวกเราทั้งหมด พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย 6 เป็นไฉน.

อายตนะภายใน 6


1. จักขายตนะ อายตนะ คือ ตา
2. โสตายตนะ อายตนะ คือ หู
3. ฆานายตนะ อายตนะ คือ จมูก
4. ชิวหายตนะ อายตนะ คือ ลิ้น
5. กายายตนะ อายตนะ คือ กาย
6. มนายตนะ อายตนะ คือ ใจ.

[305] อายตนะภายนอก 6


1. รูปายตนะ อายตนะ คือ รูป
2. สัททายตนะ อายตนะ คือ เสียง
3. คันธายตนะ อายตนะ คือ กลิ่น
4. รสายตนะ อายตนะ คือ รส